การผิดสัญญาหมั้น

   

Homeประวัติผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนการผิดสัญญาหมั้นสังคมไทยประชาธิปไตยการจัดการปกครอง

 

การสมรส 
การหย่าร้าง 
การตาย 

 

                การผิดสัญญาหมั้น  ฝ่ายที่เสียหายสามารถเรียกค่าทดแทนได้  แต่จะให้ศาลบังคับการสมรสไม่ได้   เพราะการสมรสนั้นต้องขึ้นกับความสมัครใจของผู้จะสมรสเท่านั้น  นอกจากนี้ฝ่ายชายอาจให้สินสอดแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง   เพื่อตอบแทนที่ฝ่ายหญิงยอมจะสมรสด้วยก็ได้   สินสอดนี้หากไม่มีการสมรสฝ่ายชายเรียกคืนได้
           
   การสมรส   เป็นการทำสัญญาตกลง เป็นสามีภรรยากันระหว่างชายกับหญิงกฎหมายกำหนดเงื่อนไขของการสมรสไว้ดังนี้
            1.
  การสมรสจะทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้วต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาติ   ซึ่งจะต้องมีเหตุอันสมควรสมควร
            2.   ชายหรือหญิงที่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถจะทำการสมรสไม่ได้
           
 3.   ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิต  เช่น  พ่อหรือแม่กับลูกจะสมรสกันหรือเป็นพี่ น้องรวมบิดามารดากัน   หรือเป็นพี่น้องรวมแต่เพียงบิดาหรือมารดากันจะสมรสกันไม่ได้
            
4.    ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
            5.    ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว
             6.    หญิงที่เคยสมรสาแล้ว   แต่สามีตายหรคือการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงโดยเหตุอื่น  เช่นโดยการหย่า   จะสนมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงไปแล้วไม่น้อยกว่า  310   วัน   เว้นแต่จะสมรสกับคู่เดิม  หรือคลอดบุตรแล้วระหว่างนั้น    หรือมีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์  หรือมีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
             7.     ถ้าชายหรือหญิงฝ่ายใดมี่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์  ฝ่ายนั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน
           
 8.      การสมรสจะต้องจดทะเบียน   โดยมีนายอำเภอหรือนายปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ  เป็นนายทะเบียน

 

 

จัดทำโดยครูศรีนวล    พูลเลิศ
โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม  พะเยา
Copyright(c)2006 Ms. Srinual   Poonlret. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.